ล่าสุด

OTT คืออะไร

OTT คืออะไร

หลังจากที่ทาง กสทช. ได้ออกมากำหนดเส้นตายให้กับ Facebook และ Youtube มาทำการลงทะเบียน OTT จนตอนนี้ได้มีการยกเลิกเส้นตายไปแล้ว นัยว่ากำลังหาวิธีการที่เหมาะสม แต่ผลพวงที่ตามมาก็คือหลายคนอาจจะอยากรู้ว่า OTT คืออะไร แล้วไปเกี่ยวข้องอะไรกับ กสทช. วันนี้เรามาดูกัน

คำว่า OTT นั้นย่อมาจาก Over-The-Top ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องเซ็กซี่ในวงการบันเทิงเลยก็ว่าได้ ไม่ใช่แค่เพียงเพราะว่ามันเป็นศูนย์กลางในการรวมตัวกันระหว่างความบันเทิงทางเครื่องรับโทรทัศน์กับวิดีโอในยุคดิจิตอลเท่านั้น แต่ในแง่ใดบ้างทำไม กสทช. ถึงออกมาเต้นแร้งเต้นกา อ่านบทความนี้จบก็น่าจะเห็นภาพได้มากขึ้น

ขอความหมายจริงๆของ OTT

ย้ำอีกครั้ง คำว่า OTT ย่อมาจาก Over-The-Top ซึ่งหมายถึงการส่งเนื้อหาภาพยนต์หรือรายการทีวีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้งานคนนั้นไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินค่าสมาชิกให้กับบริการนั้นๆเหมือน หรือผูกกับบริการนั้นๆอย่างเช่นกล่องทีวีผ่านดาวเทียม หรือพูดง่ายๆคือการดูทีวีผ่านเน็ตนั่นเอง

ทีวีสมัยนี้เริ่มเป็นสมารท์ทีวีกันแล้ว แค่เสียบสาย LAN หรือต่อ WIFI ก็สามารถรับชมทีวีผ่านเน็ตได้เลย ไม่ต้องใส่สายอากาศหรือต่อจานดาวเทียมให้ยุ่งยาก

บริษัทให้บริการอินเตอร์เน็ตก็รวยนะซิ

ใช่แล้วเนื่องจากบริการ OTT นั้นต้องอาศัยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้ลูกค้าต้องติดต่อบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ลูกค้าจึงต้องติดต่อกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งเดิมมักจะเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน แต่ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็เริ่มหันมาให้บริการดังกล่าวกันหลายรายแล้ว เช่น TRUE หรือ AIS Fiber เป็นต้น

นั่นทำให้ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะยังมีบทบาทอีกมาก เนื่องจากเดิมมีทรัพยาการด้านการสื่อสารอยู่ในมือแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนจากการให้บริการด้านเสียงมากเป็นบริการด้านข้อมูลแทน จากระบบไร้สายมาเป็นระบบมีสาย แถมยังมีประสบการณ์ในการให้บริการลูกค้ามากกว่าบรรดาเครือข่ายช่องทีวี TV ต่าง และยังเก็บเงินจากลูกค้ารายบุคคลได้ทันที

ในขณะที่ฝั่งผู้ให้บริการเนื้อหา จะมีรายได้จากการขายโฆษณาหรือขายรายการให้กับเจ้าของช่อง แต่ระบบการกระจายสัญญาณนั้นเป็นอิสระออกจากกัน จำนวนช่องทีวีถูกจำกัดโดยกฏเกณฑ์ของรัฐผ่าน กสทช. แต่ผู้ให้บริการ OTT ไม่ได้ถูกจำกัดโดยกฏเกณฑ์เหมือนระบบทีวีดาวเทียมหรือทีวีผ่านสายอากาศ

แล้วปัญหาคืออะไร

ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คงจะเป็นเรื่องของแนวโน้มธุรกิจ ในอดีตทีวีระบบสายอากาศนั้น รายการต่างๆจะถูกยัดเยียดให้ผู้ชมตามตารางเวลาของสถานี ส่วนทีวีดาวเทียมผู้ให้บริการมักจะใส่จำนวนช่องไว้มากๆแล้วขายเป็นแพคเกจแม้คนดูจะไม่อยากดูก็ตาม ทำให้มีการรวมช่องยอดนิยมเข้ากับช่องที่คนไม่ดูแล้วขายเป็นชุดๆให้กับเคเบิ้ลท้องถิ่น หรือขายเป็นแพคเกจให้กับผู้ชม

พอเกิดระบบ OTT ขึ้นมา ทำให้ผู้ชมสามารถเลือกชมรายการได้ตามใจชอบ ราคาก็ไม่แพง คนจะแห่กันมาใช้งานระบบ OTT มากขึ้น เม็ดเงินค่าโฆษณาก็จะมาลงผ่านระบบ OTT มากขึ้น การควบคุมต่างๆอะไรก็ยังไม่มี รัฐบาลเลยต้องออกมาหาวิธีควบคุมเหมือนการให้บริการผ่านดาวเทียม หรือบริการฟรีทีวีที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ

ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเช่น การเปิดรายการสดผ่าน Facebook แล้วมีผู้ชมเป็นจำนวนมากแต่เป็นรายการที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ทางการไม่สามารถควบคุมหรือสั่งปิดได้ทันที อันจะเป็นปัญหากับสังคมไทยในระยะยาวได้ ทาง กสทช. จึงต้องหาวิธีในการบังคับให้บริการ OTT เหล่านี้เข้ามาลงทะเบียนเพื่อเป็นการควบคุมไปในตัวนั่นเอง

Advertisment

Leave a comment