รีวิวกล่องทีวีดิจิตอล Family DR-111 Set Top Box
รีวิวกล่องทีวีดิจิตอล Family DR-111 Set Top Box
สวัสดีกันอีกครั้งนำครับสำหรับการรีวิวกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล ตอนนี้ก็ใกล้เวลาที่จะมีการออกอากาศทีวีดิจิตอลอย่างเป็นทางการกันแล้ว หลายค่ายก็เริ่มเปิดตัวกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลสำหรับโทรทัศน์รุ่นเก่าที่ไม่มี DVB-T2 จูนเนอร์ในตัว รวมถึงค่าย Family ด้วย
ชื่อนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเป็นทีวีรุ่นจิ๋วในอดีตที่โด่งดังที่สุดก็ว่าได้ หรือไม่ก็เครื่องเล่นเกมส์ยุคก่อนที่บรรดา XBOX หรือเกมส์ online อย่าง Raknarok จะมาตีตลาด ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ทาง Family คงไม่ต้องใช้ความพยายามมาก ในการที่จะสร้างแบรนด์กล่อง set top box เหมือนค่ายอื่น เพราะถือว่าอยู่ในวงการ อุปกรณ์ในด้าน Entertainment อยู่แล้ว
หากไปหาซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล (set top box) ของ Family รุ่น DR-111 มาแล้ว จะได้กล่องบรรจุผลิตภัณฑ์หน้าตัดสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างประมาณหนึ่งคืบคูณหนึ่งคืบ กล่องจะสูงประมาณ 5 เซ็นติเมตร โดยสีพื้นของกล่องบรรจุภัณฑ์จะออกโทนสีน้ำเงินสามด้าน อีกสามด้านจะเป็นพื้นสีขาว ด้านบนกล่อง (บางคนอาจจะเรียกว่าด้านหน้ากล่อง) จะแสดงรูปชองกล่อง set top box โดยส่วนบนสุดจะมีโลโกของ Family เห็นชัดเจน ตามมาด้วยสัญญลักษณ์น้องดูดี และโลโก้คำว่า DVB-T2 Terrestrial
ส่วนครึ่งล่างจะมีโลโก้ต่างๆเช่น 1080 ซึ่งน่าจะหมายถึงการแสดงผลแบบ HD สัญญลักษณ์ REC, HDMI, USB 2.0, MKV, MPEG-4, Divx และ MP3 ส่วนข้อความบรรยายสรรพคุณสินค้าด้านหน้ากล่องก็จะระบุว่าเป็น เครื่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล และรายละเอียดตามลำดับคือ
– สอดคล้องกับมาตราฐาน DVB-T2 และ H.264, MPEG-4 มาตรฐาน MPEG-2
-สามารถรับฟังวิทยุได้
-OSD ภาษา : อังกฤษ , ไทย ฯลฯ
-ฟังก์ชั่น PVR สนับสนุนการทำงานมัลติมีเดีย (MP3, MP4, DIVX, AVI)
-รองรับ USB 2.0 , HDMI , CVBS(RCA), SPDIF
แปลกอยู่อย่างเดียวที่ด้านหน้ากล่องไม่ได้ระบุชื่อรุ่นเอาไว้ หากจะหาชื่อรุ่นต้องพลิกไปดูใต้กล่องหรือไม่ก็ด้านข้างทั้งสี่ด้าน
พลิกกลับมาด้านล่างของกล่อง จะเห็นโลโก Family ชัดเจนพร้อมโลโก้ DVB-T2 Terrestrial และโลโก้ มอก ซึ่งระบุ มอก หมายเลข 1195 2536 ของบริษัท แฟมิลี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ข้อความภาษษไทยโดดเด่นระบุว่าเป็น เครื่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล ตามมาด้วยชื่อรุ่นคือ DR-111
ส่วนต่อมาเป็นการระบุคุณสมบัติของเครื่อง (Features) ซึ่งปรากฏข้อมูลหลายบรรทัดคือ
– สอดคล้องกับมาตราฐาน DVB-T2 และ H.264, MPEG-4 มาตรฐาน MPEG-2 และสามารถรับฟังสถานีวิทยุได้
– OSD ภาษา : อังกฤษ , ไทย ฯลฯ
– ฟังก์ชั่น PVR สนับสนุนการทำงานมัลติมีเดีย (MP3, MP4, DIVX, AVI ฯลฯ)
– รองรับการแสดงภาพแบบ 4:3, 16:9
– รองรับ USB 2.0 , HDMI , CVBS(RCA), SPDIF
– อัพเกรดซอฟแวร์ผ่าน USB
– รองรับความละเอียดภาพ 720p, 1080i, 1080p (Full HD)
– รองรับระบบเสียง ดิจิตอล, MPEG-1, MPEG-2 (Layer I/II), MP3, AAC-LC 5.1 channel, HE-AAC v1/v2 2.0
– รองรับการบันทึกไฟล์แบบ FAT/ FAT-32
– รองรับระบบข้อมูลแนะนำผังรายการ Electronic Programme Guide (EPG)
– บันทึกรายการ และเล่นผ่าน USB ภายนอกได้
– รองรับ PAL/NTSC
– ตั้งเวลาในการบันทึกช่องรายการได้จากข้อมูลผังรายการ (EPG) หรือโดยกำหนดวัน เวลา ล่วงหน้าได้
ส่วนด้านขวามือของหลังกลังจะระบุว่ามีอุปกรณ์อะไรมาบ้าง (INCLUDED THIS BOX) ซึ่งก็มี
– DVB-T2 เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์
– Remote
– สาย AV
– สาย HDMI
– คู่มือไทย อังกฤษ
– บัตรรับประกัน
เปิดกล่องบรรจุภัณฑ์ออกมาจะพบอุปกรณ์ต่างๆ ดังภาพ
โดยจะพบตัวกล่อง set top box ขนาดกระทัดรัดยาวประมาณ 17 ซม กว้างประมาณ 10 ซม และสูงประมาณ 4 ซม โดยบนกล่องจะมีสติกเกอร์ของ กสทช หมายเลข NBTC ID 120036-13-0029 Family DR111 ที่เหลือก็จะเป็น
– Remote (พร้อมถ่าน AAA จำนวน 2 ก้อน)
– สาย AV แบบสามเส้น
– สาย HDMI (แอดมินลืมเอามาจัดวางตอนถ่ายรูป ขออภัยด้วย)
– คู่มือภาษาไทย และอังกฤษ
– บัตรรับประกัน
หากดูเฉพาะตัวกล่อง set top box ด้านหน้ากล่องจะลักษณดังรูป
โดยด้านซ้ายสุดจะเป็นโลโก้ Family พร้อมชื่อรุ่น ถัดมาเป็นช่องสำหรับเสียบ USB ตามมาด้ายช่องแสดงผลแบบ LED จำนวน 4 หลัก และตามมาด้วยปุ่มกดสามปุ่มคือ ปุ่มเลื่อนช่องลง เลื่อนช่องขึ้น และปุ่มปิดเปิดเครื่อง
ส่วนด้านหลังกล่องเริ่มจากทางซ้ายมือจะมีช่อง RF IN หรือช่องไว้เสียบเสาอากาศ ตามมาด้ายช่อง RF OUT ถัดมาเป็นช่อง COAX ซึ่งระบุไว้ในคู่มือว่าเป็นช่องสำหรับต่อสัญญาณเสียงแบบดิจิตอลออก ถัดมาเป็นช่อง HDMI สำหรับไว้ต่อกับเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ๆ และสุดท้ายจะเป็นกลุ่มของช่องสำหรับเสียบสาย AV สำหรับทีวีรุ่นเก่า
อุปกรณ์ชิ้นต่อมาคือ Remote Control
ซึ่งก็มีลัษณะคล้ายๆกับ รีโมทของกล่องดาวเทียมทั่วๆไป แต่เป็นแบบสั้น จัดวางปุ่มเลื่อนช่องและปรับระดับเสียงไว้ประมาณตรงกลางๆ
หลังจากเสียบเสาอากาศเข้ากับข่อง RF IN และเสียบสายสัญญาณ HDMI จากเครื่องเข้ากับทีวี LCD จอแบนแล้วเปิดเครื่อง ก็ปรากฏคำว่า reboot บนหน้าจอ LED ของเครื่อง ส่วนบนจอทีวีก็จะโผล่โลโก้ของ Family ดังภาพ
หลังจากค้นหาสัญญาณจนเจอและลองกดปุ่มเมนูดู ก็จะปรากฏเมนูต่างๆ ซึ่งเหมือนกับกล่องทั่วๆไป คาดว่าน่าจะเป็น firmware ตัวเดียวกันดังภาพ
ด้วยความที่จอภาพเดิมใหญ่อยู่แล้ว เมนูต่างๆ จึงดูชัดสบายตา ไม่มีลูกเล่นอะไรมากมาย อ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่าต้องการทำอะไร หากต้องการตั้งเวลากล่องก็สามารถทำได้โดยง่าย เพื่อว่าเวลาปิดเครื่อง จอ LED จะแสดงเวลาให้เราดู
สำหรับช่องต่างๆที่ให้บริการ ก็เป็นช่วงทดลองซึ่งก็มีช่องมาตรฐานปกติ 3 5 7 9 ThaiPBS คุณภาพของภาพก็เป็นไปตามมาตรฐาน
ฺค่า Bitrate ของช่อง HD ก็อยู่ที่ประมาณ 4 Mbps ตามมาตรฐานไม่ต่างจากกล่องยี่ห้ออื่นๆเท่าใด ดังภาพตัวอย่างข้างล่าง
สำหรับภาพการแสดงผลช่อง SD ก็ตามตัวอย่างด้านล่างนะครับ
ภาพที่แสดงอาจจะไม่ชัดนักนะครับ เพราะถ่ายจากหน้าจอด้วยกล้องดิจิตอลโดยตรง แต่ตามหลักการแล้ว ไม่ว่าท่านจะซื้อกล่องยี่ห้ออะไรก็ตาม มาตรฐานความละเอียดของภาพก็ต้องเป็นไปตามที่ กสทช กำหนด ไม่มีอะไรแตกต่างกันมาก ซึ่งต่างจากกรณีของกล่องดาวเทียมที่อาจจะต้องมีการบีบอัดข้อมูลแล้วทำให้ความละเอียดของภาพลดลงเพื่อให้ได้จำนวนช่องเพิ่มมากขึ้น แต่กล่องทีวีดิจิตอล จำนวนช่องก็กำหนดตายตัว ระบบเครือข่ายออกอากาศก็เหมือนๆกัน จึงไม่มีอะไรที่ถือเป็นนัยยะสำคัญในแง่ของคุณภาพของภาพ
สิ่งที่เราสนใจในแต่ละกล่องก็เป็นเรื่องของการเปลี่ยนช่องแล้วตอบสนองได้รวดเร็วแค่ไหน ความทนทานของกล่องว่าจะอยู่ได้นานกว่าเครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้คู่กันหรือเปล่า ฟังก์ชั่นหรือลูกเล่นการทำงานต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง
สำหรับ กล่อง set top box ของ Family DR-111 โดยรวมแล้วถือว่ามีขนาดเล็กกระทัดรัดฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน โดยสรุป
จุดเด่น
– กล่องขนาดกระทัดรัด ไม่กินพื้นที่มากนัก พกพาสะดวก บางครั้งหาที่วางไม่ได้หากวางบนทีวีก็ไม่กลัวว่าจะหนักเกินไป
– มีไฟแสดงสถานะช่องหน้ากล่องและแสดงเวลาเมื่อปิดเครื่อง
– มีปุ่มปิดเปิดหน้าเครื่อง เหมาะสำหรับคนที่ยังห่วงว่าไม่ได้ปิดเครื่อง กลัวฝนฟ้าจะทำให้เครื่องพัง เหมาะสำหรับบ้านผู้สูงวัยที่อาจจะบอกให้ลูกหลานปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าเวลาฝนตก (จะได้บอกว่าปิดแล้วยาย)
– มีปุ่มเปลี่ยนช่องขึ้นลง เหมาะมากเวลาต้องการเปลี่ยนช่องเร่งด่วนแต่หารีโมทไม่เจอ
– กล่องเหล็กซึ่งมีการระบายความร้อนผ่านทางตัวกล่อง ซึ่งสำหรับสภาพอากาศร้อนบ้านเราแล้ว น่าจะมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น การใช้งานตามบ้านช่องในต่างจังหวัดที่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยู่ในห้องแอร์ ควรจะมองถึงคุณสมบัติด้านนี้เป็นหลัก
– มีช่องเสียบ USB ด้านหน้า ถอดเข้าออกสะดวก
– มีฟังก์ชั่นเล่นไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ ผ่านช่อง USB ได้
– สามารถบันทึกรายการลง USB ได้
– สาย HDMI ที่ให้มา ยาวประมาณ 2 เมตร ก็นับว่าเหลือเฟือสำหรับการใช้งานปกติ
จุดด้อย
– ไม่มีช่อง Component เหมือนของ Aconatic สำหรับคนที่มีทีวีไม่รองรับ HDMI แต่ต้องการความคมชัดมากกว่าสัญญาณ AV
– ปุ่มกดเปลี่ยนช่องบนตัวเครื่อง กดยากไปนิด ต้องจิ้มนิ้วให้ลึกลงไปและต้องใช้นิ้วอื่นพยุงเครื่องไว้ไม่ให้ไหลไปด้านหลัง สาวๆ เล็บยาวอาจจะบ่น แต่ผมคิดว่าดีกว่าไม่มีปุ่มนี้นะครับเวลาหารีโมทไม่เจอก็ยังใช้การได้ดีอยู่
สำหรับราคาวางจำหน่าย ณ เดือนมีนาคม 2557 ราคาเฉพาะตัวกล่องจะอยู่ที่ 1,290 บาท ซึ่งก็นับว่าถูกกว่าของอโคเนติกพอประมาณ และแพงกว่าของสามารถเล็กน้อย ส่วนราคาสายอากาศอย่างเดียว 300 บาท หากซื้อรวมทั้งสองอย่างราคาก็จะอยู่ที่ 1,590 ล่าสุด (มิถุนายน 2557) มีโฆษณาทางทีวี ระบุมีวางขายที่ 7-eleven แล้วนะครับ
ท่านที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็ไปยังเว็บของ family ได้ที่ family.co.th
Leave a comment
You must be logged in to post a comment.