ล่าสุด

ผ่าแผนช่อง 3 ในสรภูมิรบทีวีดิจิตอล กะยึดรีโมทคนดู

all-ch3

ผ่าแผนช่อง 3 ในสรภูมิรบทีวีดิจิตอล กะยึดรีโมทคนดูไว้ทั้ง 4 ช่อง

ช่วงนี้เรื่องราวของช่อง 3 อนาลอกที่กำลังร้อนแรงกับมาตรการของ กสท. ที่ออกคำสั่งทางปกครองไปยังบรรดาผู้ประกอบการกล่องดาวเทียมและเคเบิ้ลที่ห้ามนำสัญญาณทีวีช่อง 3 ระบบอนาลอกมาออกอากาศเนื่องจากไม่ได้รับการคุ้มครองตาม กฏ Must Carry และหากต้องการออกอากาศต่อก็ต้องสมัครเป็น Pay TV หรือเอามาออกคู่ขนาน ด้านช่อง 3 อนาล็อกก็ดิ้นทุกวิถีทางเพื่อยื้อการออกอากาศในระหว่างกำลังหาทางออกในประเด็นนี้

หลายฝ่ายที่ยืนอยู่บนความถูกต้องต่างก็ทั้งปลอบทั้งขู่ให้ช่อง 3 อนาล็อก เดินไปในทางที่ถูกต้องเหมือนช่อง 7 ที่ยอมออกคู่ขนานตั้งแต่ต้น แต่ดูท่าว่าช่อง 3 อนาล็อกจะยังไม่ยอมทำอะไรง่ายๆ หากเราได้มองถึงกลยุทธ์ของช่อง 3 แล้วจะมองภาพออกว่าทำไมช่อง 3 ถึงได้ดิ้นสุดฤทธิ์ขนาดนี้

เริ่มจากตัวบทกฏหมายเองที่จะไม่ยอมให้บริษัทเอกชนเพียงรายเดียวยึดครองคลื่นความถี่เกิน 3 ช่อง นั่นหมายถึงว่าจะต้องไม่มีบริษัทที่ดำเนินกิจการทีวีดิจิตอลรายหนึ่งรายใดเข้าประมูลช่องทีวีดิจิตอลได้เกิน 3 ช่อง เพราะเกรงว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจเข้าข่ายผูกขาดและสร้างอิทธิพลเหนือคนดูเหมือนในยุคสัมปทานที่ผ่านมา

จากข้อกฏหมายดังกล่าวทำให้ช่อง 3 ตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อประมูลทีวีดิจิตอลโดยเฉพาะ ทำให้สามารถครอบครองช่องทีวีได้ 4 ช่องโดยไม่ผิดกฏหมาย อันเป็นประเด็นที่ว่าทำไมช่อง 3 ถึงอ้างว่าออกคู่ขนานไม่ได้เพราะถือเป็นคนละนิติบุคคลกัน

แผนเด็ดคือยึดรีโมทคนดู

แต่ประเด็นหนึ่งของการเข้ามาประมูลช่องทีวีดิจิตอลของ ช่อง 3 ก็คือการประมูลช่องทีวีดิจิตอล ให้ได้ 3 ช่องด้วยราคาสูงสุดในแต่ละหมวดเพื่อให้ได้สิทธิในการเลือกหมายเลขช่องก่อน ซึ่งหากมีการศึกษาข้อมูลการเรียงช่องและหมวดหมู่ของช่องทีวีดิจิตอลแล้วจะเห็นว่าอ่านเกมส์ได้ไม่ยากว่าช่อง 3 มุ่งไปทางไหน

กสทช. ประกาศจำนวนช่องต่างๆ ออกมาหลายครั้งหลายครามาก จนสุดท้ายมาจบลงที่ 3 – 7 – 7 – 7 (ก่อนหน้านี้ไม่ได้เป็นตัวเลขแบบนี้ โดยช่องสำหรับเด็ก 3 ช่อง ช่องข่าว 7 ช่อง SD 7 และช่อง HD 7 การกำหนดช่องออกมาแบบนี้ไม่ทราบ กสทช. อ้างอิงเหตุผลอะไร คงต้องไปค้นมติการประชุมสมัยนั้นดู

การกำหนดช่องเหล่านี้สอดคล้องกับกลุ่มทีวีสาธารณะที่กำหนดไว้แล้ว 12 ช่อง ทำให้ช่องเยาวชนและครอบครัวมาเริ่มต้นที่หมายเลข 13

นั่่นคือเลขช่องเยาวชนและครอบครัวคือ 13 – 15
เลขช่องข่าว 16 – 22
เลขช่อง SD 23 – 29
เลขช่อง HD 30 – 36

จะพบว่าทางช่อง 3 เข้าประมูลใน 3 หมวดนั่นคือ หมวดเยาวชนและครอบครัว หมวด SD และหมวด HD โดยไม่ได้เลือกหมวดข่าวเพราะเหตุผลที่เรากำลังวิเคราะห์กันตอนนี้ นั่นคือช่อง 3 จะต้องประมูลในแต่ละหมวดด้วยเงินสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งเพื่อมีสิทธิเลือกเลขช่องก่อน

ผลคือในกลุ่มข่องเยาวชนฯ อันดับ 1 คือ บริษััท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอ 666 ล้านบาท ช่อง HD บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3) เสนอราคาสูงสุดที่ 3,530 ล้านบาท ส่วนช่อง SD บริษัท บีอีซีฯ กลับตามมาเป็นอันดับ 4 โดยแพ้ Workpoint True และ GMM ตามลำดับ

ช่อง 3 ชนะในสองกลุ่มคือ เยาชนจึงเลือกเลข 13 ไปครอง และ HD ก็ได้เลข 33 ไปครอง ส่วนในกลุ่ม SD พลาดท่าจึงได้เลือกช่อง 28 ไป ในความเป็นจริงหากชนะก็คงได้เลข 23 ไปครองแล้ว

นั่นหมายถึงว่าหากเป็นไปตามแผนช่อง 3 จะได้หมายเลขช่องทีวีดิจิตอลคือ 13 – 23 – 33 ไปครองและหากรวมกับความเป็นช่อง 3 ออริจะนอลเดิมก็จะได้

3 – 13 – 23 – 33

การทำตลาดก็คงง่าย ประชาชนจดจำไปได้อีกนานแสนนาน เพราะแค่เปลี่ยนเลขหน้าเท่านั้น สามารถยึดรีโมทคนดูได้เลย เพราะทุกคนจะจำได้ว่าช่อง 3 อยู่ตรงไหนบ้าง

และที่หายสงสัยว่าทำไมช่อง 3 ไม่เล่นช่องข่าวเพราะมีทีมงานการทำข่าวที่แข็งแกร่งรายนึงในตลาด เทียบกับการไปทำช่องเยาวชนและครอบครัวแล้วน่าจะดีกว่าหลายขุม หรือทำไมประมูลทั้ง SD และ HD ในเมื่อเป็นกลุ่มคล้ายคลึงกัน ก็คงเดาได้ว่ากลุ่มช่องข่าวเลขไม่ค่อยสวยนั่นเอง เลข 16 – 22 น่าจะไม่เข้าพวกทำการตลาดได้ลำบากหน่อย แต่หากมีการจัดกลุ่มแบบใหม่ก็ไม่แน่ว่าช่อง 3 อาจจะเลือกกลุ่มช่องทีวีดิจิตอลตามเลขสวยเหล่านี้มากกว่าที่จะเลือกตามศักยภาพของตัวเองเป็นแน่

มาถึงจุดนี้แม้ช่อง 3 จะไม่ได้เลข SD เป็น 23 ก็ตาม แต่ก็ยังมีเลขสวยอีก 3 ตัวที่ยังครองอยู่นั่นคือ 3 – 13 – 33 จึงน่าจะเป็นเหตุว่าทำไมทางช่อง 3 จึงพยายามยื้อด้วยหลากหลายวิธีเพื่อครองจำนวนช่องและตัวเลขอันสวยงามเหล่านี้เอาไว้ อย่างน้อยการเกิดใหม่ของช่องทีวีดิจิตอลนั้นก็คงจะทำให้ประชาชนค้นหาช่อง 3 ได้ไม่ยาก เพราะลงท้ายด้วยเลข 3 นั่นเอง

Advertisment

Leave a comment