ล่าสุด

สถานีทีวีดิจิตอลในอังกฤษกลัวโดนแย่งคลื่นความถี่

many-tv-screen

สถานีทีวีดิจิตอลในอังกฤษกลัวโดนแย่งคลื่นความถี่

ในขณะที่บ้านเรากำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านจากทีวีระบบอนาลอกเป็นทีวีดิจิตอล แต่ในอังกฤษนั้นกำลังมองไปข้างหน้าที่ทางสถานีทีวีดิจิตอลอาจจะสูญเสียสเปคตรัมความถี่ให้กับการให้บริการข้อมูลความเร็วสูงผ่านอุปกรณ์มือถือ

ฟังดูเรื่องราวแล้วอาจจะไกลเกินไปสำหรับประเทศไทยใช่ไหมครับ แต่ไม่แน่นะครับในอนาคตที่การสื่อสารผ่านอุปกรณ์ไร้สายในไทยอาจจะเติบโตถึงจุดหนึ่งเหมือนเช่นในประเทศอังกฤษ ที่สุดท้ายมีการจ้องจะใช้ความถี่เดิมที่ใช้ในการออกอากาศทีวีดิจิตอลเพื่อนำไปใช้กับการสื่อสารไร้สายและอาจจะทำให้การออกอากาศทีวีดิจิตอลถึงกับต้องถอยร่นเพราะโดนบีบคั้นในเรื่องทรัพยากรความถี่ และระยะเวลาสัมปทานคลื่นความถี่เพียง 15 ปีของไทยนั้นแป้บๆเวลาก็จะผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยเราคาดไม่ถึงก็ได้

เรามาดูตัวอย่างในอังกฤษกันต่อนะครับว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร โดยตอนนี้สถานีทีวีดิจิตอลในชื่อ Freeview นั้นต่างก็รู้สึกอึดอัดกับแผนที่จะมีการย้ายความถี่ที่ใช้ในการออกอากาศปัจจุบัน และยังกังวลกับความถี่ที่จะสามารถใช้ได้ในอนาคตที่อาจจะเหลือน้อยลง

ด้านหน่วยงานที่ดูแลกิจการทีวีดิจิตอลอย่าง Digital UK นั้นก็ได้มีการออกรายงานที่เน้นถึงความสำคัญด้านเศรษฐิกิจและสังคมของการออกอากาศทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินอย่าง Freeview ว่าสำคัญอย่างไร และยังได้ตั้งคำถามไปยังหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการสื่อสารท (Ofcom) ถึงการคาดการณ์ความต้องการที่จะผุดขึ้นมามากมาย รวมถึงตั้งคำถามไปยังผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือด้วย

โดยทาง Ofcom ได้กล่าวว่าความต้องการการสื่อสารความเร็วสูงอย่าง 4G และ 5G อย่างการดูวิดีโอผ่านมือถือ และจากอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตต่างๆนั้นอาจจะเพิ่มขี้น 80 เท่าภายในอีก 16 ปีข้างหน้า (2030)

โดยผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ที่สุดได้กล่าวว่า มีแนวโน้มชัดเจนแล้วว่าการสื่อสารผ่านอุปกรณ์มือถือนั้นต้องการสเปกตรัมคลื่นความถี่มากกว่าเดิม โดยให้เหตุผลว่า “ประชากรติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ และแน่นอนว่าเราต้องตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของพวกเขาได้”

ข้อถกเถียง

อย่างไรก็ตาม รายงานจาก Digital UK ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย BBC, ITV, Channel 4 และบริษัทผู้ให้บริการโครงข่ายอย่าง Arqiva กล่าวว่า การดูวิดีโอผ่านมือถือซึ่งใช้แบนวิดท์สูงนั้นจริงๆแล้วทำผ่าน Wifi ซะมากกว่า

รายงานบอกว่าปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์แทปเล็ตนั้นจำนวน 2 ใน 3 จะเป็นแบบ Wifi อย่างเดียวโดยไม่สามารถใช้งานผ่านระบบสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ได้

พร้อมยังระบุอีกว่าระบบ Freeview หรือทีวีดิจิตอลนั้นสร้างมูลค่าต่อหนึ่งหน่วยความถี่มากกว่าการสื่อสารไร้สายเสียอีก และยังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศเกือบ 80,000 ล้านปอนด์ต่อปี และยังเป็นการสร้างการแข่งขันโดยทำให้ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมว่าจะรับชมอย่างไรอีกด้วย

และการที่ข้อแนะนำให้ลดช่องทีวีดิจิตอลในระบบ Freeview ลงให้เหลือช่องทีวีที่ให้บริการในเชิงสาธารณะเท่านั้นว่าไม่ใช่สิ่งที่ผู้ชมต้องการ และเป็นการทำให้คลื่อนความถี่ว่างลงเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการทีวีดิจิตอลเท่านั้น

รายงานนี้เป็นผลพวงมาจากการที่หน่วยงานกำกับอย่าง Ofcom มีแผนที่จะย้ายคลื่นความถี่ที่ใช้ถ่ายทอดทีีวีดิจิตอล Freeview ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปี 2018 โดยจะย้ายจากความถี่ช่วง 700 MHz ไปยังช่วงใหม่คือ 600 MHz ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่ระบบทีวีอนาลอกเคยใช้อยู่เดิม เพื่อให้ความถี่ช่วง 700 MHz นั่นว่างลงและสามารถจะนำไปให้ทางผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือใช้

โฆษกของ Digital UK กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงจำเป็นหรือไม่ และหากมันเกิดขึ้นจริงเราอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ และไม่คิดว่าทางเจ้าของสถานีทีวีหรือผู้ชมควรจะเสียค่าใช้จ่ายในการแปลี่ยนแปลงครั้งนี้”

ด้านโฆษกของ Ofcom เองก็ออกมาระบุว่า “การออกอากาศทีวีดิจิตอลนั้นมีความสำคัญเนื่องจากต้นทุนต่ำและครอบคลุมพื้นที่ได้มากในการออกอากาศ เราไม่ได้มีความตั้งใจที่จะสละระบบทีวีดิจิตอลเพื่ออย่างอื่น”

คลื่นความถี่ย่าน 700MHz นั้นปัจจุบันใช้สำหรับการให้บริการสื่อสารโทรศัพท์ในอเมริการและเอเชียแล้ว และคาดว่าเป็นไปได้ที่จะมีการกำหนดให้ใช้ความถี่นี้เพื่อการนี้ทั่วโลกในการประชุมการสื่อสารโลกในปีหน้า

imobile_iq58_dtv

ความถี่สูงหรือต่ำกว่าดี

คลื่นความถี่สูงที่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารผ่านมือถือนั้นมีมากมาย แต่คลื่นความถี่ต่ำนั้นจะเหมาะสมกว่าเนื่องจากมีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า และนี่คือเหตุผลว่าทำไมถึงถูกใช้ในการออกอากาศวิทยุหรือทีวี

จากข้อมูลของ Ofcom ระบุว่าครึ่งหนึ่งของประชากรผู้ใหญ่ของอังกฤษนั้นมีสมาร์ทโฟนไว้ใช้งาน และ 1 ใน 4 ของครัวเรือนจะมีอุปกรณ์แทปเล็ต และภายในปี 2020 จะมีอุปกรณ์ต่างๆถึง 50,000 ล้านชิ้นนับตั้งแต่รถยนต์จนไปถึงเครื่องชงกาแฟ ที่จะต้องสื่อสารซึ่งกันและกันโดยใช้ความถี่วิทยุเพื่ออยู่บนโลกออนไลน์

เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วทาง Ofcom ก็ได้เชิญชวนให้มายื่นข้อเสนอใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 190 MHz ในช่วงความถี่สูงที่ปัจจุบันกระทรวงกลาโหมใช้งานอยู่ซึ่งจะมีความจุราว 3 ใน 4 ของคลื่นความที่ย่าน 4G ที่ทาง Ofcom เปิดให้ประมูลไปเป็นมูลค่า 2,300 ล้านปอนด์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

และตอนนี้ก็มีความพยายามในการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย

หลังจากนั้นอีกไม่นานก็ได้มีการทอลองโครงการนำร่องในการใช้งานช่วงความถี่คั่น (white space) ที่ใช้ในการออกอากาศทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน โดยช่วงความถี่นี้เป็นการเว้นว่างไว้เพื่อให้ไม่มีการรบกวนกันระหว่างแต่ละเสาส่ง โดยในหลายๆโครงการนำร่องจะมีการใช้ช่วงความถี่นี้ในการส่งสัญญาณการจราจรไปยังรถราที่อยู่ในช่วงถนนบางสาย บางโครงการก็จะให้คนใด้ใช้งานไวไฟได้ฟรี และบางโครงการก็เป็นการส่งเสริมการใช้ broadband ให้กับคนในชนบท

เบื้องหลังกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ก็ยังมีคำถามสองประเด็นที่ยากแก่การหาคำตอบ

ประเด็นที่หนึ่งก็คือคำถามที่ว่าในอนาคตข้างหน้านั้นคนจะยังคงดูช่องทีวีธรรมดาอยู่หรือไม่ หรือว่าคนจะหันไปดูแบบออนดีมานด์มากขึ้นจนกระทั้งมากกว่าการดูทีวีช่องปกติ ทำให้เร่งความต้องการดูวิดีโอแบบพกพาไปในตัว

อีกประเด็นหนึ่งก็ว่าผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือที่กำไรมหาศาลนั้นถูกจำกัดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านจากจากทางรัฐบาลและหน่วยงานกำกับกิจการ และกำลังลงทุนสูงในการพัฒนาบริการ 4G จะสามารถใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ที่กำลังจะได้มาเพิ่ม ซึ่งต้องจ่ายมาด้วยราคาที่สูง

การใช้งานข้อมูลนั้นกำลังเพิ่มขึ้นจริงแต่รายได้อาจจะไม่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เหมือนที่ผู้ให้บริการรายหนึ่งกล่าวว่า “เราอยากได้คลื่นความถี่เพ่ิ่มอีก แต่เราไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายมากไปกว่านี้”

หันกลับมาดูในไทย ประเด็นต่างๆที่เกิดขึ้นในอังกฤษตอนนี้ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ไม่ว่าจะทีวีดิจิตอลหรือโครงการ 3G, 4G แต่ก็ไม่แน่นะครับว่าในอนาคตเราอาจจะต้องเินตามหลังเหตุการณ์ในอังกฤษก็ได้ อย่างน้อยก็ถือเป็นข้อมูลไว้เป็นแนวทางนะครับ

ที่มา bbc.com/news

Advertisment

Leave a comment