ล่าสุด

ทดสอบสายอากาศก้างปลา สำหรับทีวีดิจิตอล

ทดสอบสายอากาศก้างปลา สำหรับทีวีดิจิตอล

หลังจากได้แนะนำเสาอากาศภายในบ้านแบบ Active ที่มีวางจำหน่ายในช่วงนี้กันแล้ว คราวนี้ก็ถึงโอกาศนำผลการทดสอบเบื้องต้นกับเสาอากาศแบบก้างปลามาให้ได้อ่านกันนะครับ เนื่องจากเริ่มมีบรรดา Early Adopters หรือกลุ่มคนที่พร้อมทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เริ่มทำการทดสอบและนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจและน่าจะเป็นแนวทางให้ท่านอื่นๆได้เรียนรู้ศึกษาประสิทธิภาพของเสาอากาศรุ่นต่างๆ ที่พอหาได้ในปัจจุบันกัน

เสาอากาศก้างปลาเท่าที่เห็นมีวางจำหน่ายในท้องตลาดก็จะเป็นของ Samart เขาหละครับ และชื่อรุ่นก็จะมีตัวเลขบ่งบอกว่ามีจำนวนก้านทั้งหมดกี่ก้าน โดยนับรวมทุกก้านอลูมิเนียมที่เห็นก็จะได้ไอเดียคร่าวๆ ของความยาวของสายอากาศกันนะครับซึ่งก็มีดังนี้

1 SAMART UHF-25E

samart25e

จากภาพแล้วก็มีก้านทั้งหมด 25 ก้าน ถือว่ายาวสุดและน่าจะมีทิศทางที่แคบพร้อม Gain ที่น่าจะสูงสุด

2 SAMART UHF-14E

uhf14e

เป็นสายอากาศที่สั้นกว่าข้างบน ขนาดกระทัดรัด

3 SAMART D3E

d3e

เป็นสายอากาศที่มีขนาดเล็กที่สุดที่นำมาใช้ในการทดสอบ

4 UV 5E

uv5e

สายอากาศลูกผสมที่รับได้ทั้ง UHF และ VHF สังเกตได้จากขนาดของก้านที่มีทั้งสองแบบ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับสายอากาศแบบก้างปลา (ยากิ)

สายอากาศแบบยากิ จะเป็นสายอากาศแบบมีทิศทาง ยิ่งมีก้าง (Director) มากก็จะมีอัตราขยาย Gain สูงขึ้น ทิศทางก็จะบีบแคบลงทั้งด้านซ้ายและขวา ตำแหน่งการเล็งเสาจึงต้องเป้ะมากๆ หากเป็นสายอากาศที่มีก้างมาก ปัญหาสำหรับทีวีดิจอตอลในการจูนหาก็คือการเล็งเสาแล้ววัดค่า Gain หากดูจากในจอทีวีมันจะ Delay ทำให้ตำแหน่งที่ได้ไม่แม่นยำ ช่างจึงมักจะมีตัววัดสัญญาณทำงานไปพร้อมกันการปรับทิศทางของสายอากาศเลย

พื้นที่ทดสอบ

พื้นที่ที่ใช้ในการทดสอบมีสองแห่งคือที่สงขลา และกำแพงแสน จ นครปฐม แต่น่าเสียดายที่ด้วยความยาวของสายอากาศและการถอดประกอบนั้นยุ่งยากในแต่ละที่จึงไม่ได้ทดสอบสายอากาศทุกชนิด

โดยในพื้นที่ จ สงขลา ซึ่งหากจากสถานีส่งประมาณ 22 กิโลเมตร ทดสอบเพียง
– SAMART UHF-14E
– SAMART UHF-25E

กล่อง set top box เป็นของยี่ห้อ Topfield

พื้นที่ อ. กำแพงแสนทดสอบสายอากาศ ห่างจากสถานีส่งประมาณ 67 กิโลเมตร
– SAMART UHF-14E
– SAMART D3E
– แผงรวม UV-5E
กล่องที่ใช้เป็น Thaisat

ภาพรวมของการทดสอบ

การทดสอบสายอากาศสองแบบคือ 25E และ 14E ในจังหวัดสงขลานั้นพบว่าแผง 25E ให้สัญญาณแรงกว่า 14E สำหรับ channel ของ UHF ในช่วง 26 – 42 แต่สำหรับ channel 46 – 54 นั้นกลายเป็นว่าแผง 14E สัญญาณแรงกว่า 25E มาก

และเพื่อจำลองว่าหากเสาส่งอยู่ไกลกว่านี้ผลการรับสัญญาณจะออกมาอย่างไร เลยได้ทดลงเพิ่มตัวลดทอนสัญญาณเข้าไประหว่างสายสัญญาณกับตัวกล่อง (Attenuator) เพื่อปรับลดทอนสัญญาณให้มากขี้น เสมือนว่าอยู่ไกลขึ้น ผลคือแผง 14E จะยังรับได้ครบทั้ง 4 MUX แต่แผง 25E รับได้แค่ Mux TV5 เท่านั้น

ในประเด็นนี้สันนิฐานได้ว่าแผง 25E Gain ในช่วง 46 – 54 นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับ 14E ซึ่งเมื่อปรับค่าลดทอนสัญญาณที่ค่าเท่ากัน ก็ย่อมเหลือสัญญาณน้อยกว่ามาก ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการทดสอบข้างบน

ส่วนการทดสอบกับเสาส่งกรุงเทพฯ ที่กำแพงแสนนั้น แต่ละสายอากาศก็ให้ผลตอบสนองกับแต่ละ MUX แตกต่างกันไป โดยรวมๆ แผง 14E และ D3E จะให้ประสิทธิภาพในการรับได้ดี โดยสรุปในแต่ละ MUX ก็เป็นไปตามด้านล่าง

– MUX 1 PRD สัญญาณอ่อนมาก ไกลจากสถานีส่งเกิน 50 กม. แผงเดียวที่รับได้คือ UHF-14E
– MUX 2 TV5 (594 MHz) สัญญาณค่อนข้างอ่อน แผง D3E รับ Mux นี้ได้ดีกว่า UHF-14E
– MUX 3 MCOT สัญญาณแรงและค่อนข้างนิ่ง รับได้ดีทุกแผง
– MUX 4 TPBS สัญญาณแรงและคุณภาพดีที่สุด รับได้ดีทุกแผง
– MUX 5 TV5 (722 MHz) สัญญาณค่อนข้างแรงและนิ่ง แต่ต้องใช้แผง UHF-14E จึงจะรับได้ดี (แผง D3E ไกลสถานีส่งเกิน 50 กม. รับ MUX นี้กระตุก)

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างข้อมูลที่วัดได้สำหรับกรณีกำแพงแสน ของ MUX ต่างๆ ของสายอากาศ Samart UHF-14E

MUX – Channel ช่องทีวี ความแรงสัญญาณ คูณภาพสัญญาณ
MUX 1 – 26 2 – NBT HD 30-32 12-23
MUX 2 – 36 35 – CH7 HD 47-53 23-30
MUX 3 – 40 30 – MCOT HD 57-61 61-66
MUX 4 – 44 3 – TPBS HD 77-81 100
MUX 5 – 52 36 – PPTV HD 74-76 100

จากนั้นเปลี่ยนสายอากาศเป็น SAMART D3E แล้วอ่านค่าใหม่

MUX – Channel ช่องทีวี ความแรงสัญญาณ คูณภาพสัญญาณ
MUX 1 – 26 2 – NBT HD 10-14 7-40
MUX 2 – 36 35 – CH7 HD 40-42 67-71
MUX 3 – 40 30 – MCOT HD 40-42 62-75
MUX 4 – 44 3 – TPBS HD 56-59 87-100
MUX 5 – 52 36 – PPTV HD 35-40 20-62

ก็ถือว่าเอาไว้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่อยู่ไกลสถานีส่งและมีความจำเป็นต้องใช้สายอากาศนอกบ้านนะครับ

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากคุณ หม่องวิน มอไซ แห่งเว็บพันทิพนะครับ

Advertisment

Leave a comment