ล่าสุด

การทำงานระบบทีวีดิจิตอล

โทรทัศน์หรือทีวีที่เรารู้จักกัน เป็นเครื่องรับสัญญาณชนิดหนึ่งที่แปลงสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งสัญญาณมาเป็นภาพและเสียงในจอสี่เหลี่ยมที่เราได้รับชมกันอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งการส่งสัญญาณในระบบโทรทัศน์จะแบ่งออกเป็น 2 ปะเภทคือ

1.ระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปแบบอนาล็อก : การรับ-ส่งชนิดนี้จะคล้ายกับการรับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุเอฟเอมหรือเอเอม ซึ่งการรับส่งชนิดนี้เป็นการรับส่งในระบบปัจจุบันที่เราใช้กันอยู่

2.ระบบการรับ – ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปแบบดิจิตอล :  มีการส่งสัญญาณในรูปแบบบิต พัฒนามาจากการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ประยุคกับระบบโทรทัศน์ ได้ภาพและเสียงที่คมชัด สัญญาณคงทนกว่าแบบแรกมาก ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยเรากำลังให้ความสนใจอยู่ในตอนนี้

ในที่นี้จะขอพาท่านทั้งหลายมาทำความรู้จักกับระบบดิจิตอลทีวี ที่เรากำลังจะหันมาใช้ ส่วนอนาล็อกจะขอละเอาไว้ เพราะในอนาคตระบบนี้จะถูกสวิตท์ออฟไปเป็นการถาวร ซึ่งเดิมทีประเทศไทยใช้การส่งสัญญาณแบบ DVB ทั้งในระบบดาวเทียมและเคเบิล ส่วนการส่งสัญญาณในระบบภาคพื้นดินเราใช้ DVB-T เผยแพร่สัญญาณครั้งแรกในปี พ.ศ.2544 จากตึกใบหยก 2 แต่เนื่องด้วยข้อกฎหมายที่มีความล่าช้าเป็นอย่างมาก จนระบบ DVB-T ถูกพัฒนาขึ้น เป็น DVB-T2 ที่ประเทศไทยจะเลือกใช้ในปัจจุบัน

ระบบดิจิตอลทีวี ที่เราเลือกใช้คือ DVB-T2 หรือเรียกกันในชื่อยาวๆว่า Digital Video Broadcasting – Second Generation Terrestrialใช้กันอย่างแพร่หลายในโซนยุโรปมากกว่า 100 ประเทศ ตั้งแต่ปี 1998 เป็นเทคนิคการเข้ารหัสแบบใหม่ ทดแทนอนาล็อกเดิมแบบ PAL และ SECAM โดยวิธีการทำงานจะใช้การ modulate แบบ OFDM มีการเข้ารหัสแบบ LDPC เมื่อเกิดการผิดพลาดของข้อมูลร่วมกับการเข้ารหัสแบบ BCH ทำให้ทนทานต่อการสอดแทรกของคลื่นรบกวนระดับสูงได้ดี คล้ายกับการส่งสัญญาณในระบบมือถือหรือเสาหนวดกุ้งผสมกับดาวเทียม ทำให้สามารถรับชมภาพและเสียงในรูปแบบ HDTV ได้อย่างเต็มพิกัด และรับชมช่องรายการได้จำนวนมาก

แต่เนื่องจากโทรทัศน์ในปัจจุบันยังไม่รองรับสัญญาณดิจิตอลได้ทั้งหมด โดยเฉพาะโทรทัศน์รุ่นเก่าที่ยังมีเสาเสียบหนวดกุ้งอยู่ จึงต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพื่อแปลงสัญญาณ set-top box หรือแม้แต่บางรุ่นที่รับสัญญาณดิจิตอลได้ก็ตามแต่ก็เป็นรุ่น DVB-T ซึ่งที่เราจะใช้ในตอนนี้พัฒนาเป็น DVB-T2แล้ว นั้นหมายถึงต้องพึ่งพาตัวแปลงสัญญาณอยู่ดี

ในอนาคตคาดว่าโทรทัศน์ที่รองรับดิจิตอลทีวีจะถูกผลิตและซื้อเพิ่มมากขึ้น และแน่นอนว่าการพัฒนาระบบในครั้งนี้ย่อมต้องมีนักลงทุนภาคเอกชนให้ความสนใจและหันมาลงทุนในระบบโทรทัศน์มากขึ้น รวมไปถึงนักลงทุนต่างชาติหลังจากเข้าสู่ประเทศอาเซียนแล้ว ซึ่งนั้นอาจจะเป็นผลดีกับผู้เสพสื่ออย่างเราๆ ที่จะได้รับชมช่องรายการที่มีความหลากหลายจากเดิมมากขึ้นหลายเท่า

Advertisment

Leave a comment