ล่าสุด

มาเลเซียได้ผู้ลงทุนโครงข่ายทีวีดิจิตอลแล้ว

MCMC

มาเลเซียได้ผู้ลงทุนโครงข่ายทีวีดิจิตอลแล้ว

หลังจากที่ได้มีการพิจารณาข้อเสนอรอบสุดท้ายกันแล้วในที่สุด หน่วยงานด้านการสื่อสารและมัลติมีเดียของมาเลเซีย (MCMC – Malaysian Communication and Multimedia Commission) ก็ได้ประกาศชื่อผู้ชนะการประมูลในการที่สร้าง ดำเนินการ และบริหาร ระบบโครงข่ายสำหรับการออกอากาศระบบทีวีดิจิตอลในมาเลเซีย

ทาง MCMC ได้มีการออกประกาศให้ยื่นข้อเสนอมาตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2555 เพื่อที่จะคัดเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุดการบริหารจัดการระบบโครงข่ายทีวีดิจิตอลสำหรับการออกอากาศ Free-to-Air หรือระบบทีวีดิจิตอลในมาเลเซีย ซึ่งระบบ Digital Terrestrial Television Broadcast (DTTB) นี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการออกอากาศในระบบดิจิตอล เหมือนกับในประเทศไทยเราที่มี 4 องค์กรที่ได้รับอนุญาติบริการโครงข่ายนั่นเอง โดยผู้ออกอากาศแค่เพียงเช่าโครงข่ายก็สามารถส่งสัญญาณทีวีไปยังครัวเรือนต่างๆได้เลยโดยไม่ต้องมีการลงทุนที่ซ้ำซ้อน

หลังจากมีการทดสอบการออกอากาศระบบ DVB-T1 เมื่อปี 2005 โดยสถานี RTM ทางประเทศมาเลยเซียก็ได้ตัดสินใจใช้ระบบมาตรฐานที่เรียกว่า DVB-T2 ซึ่งถือเป็น second generation ในปี 2011 ซึ่งถือเป็นการก้าวกระโดดในเรื่องของเทคโนโลยีไปยังมาตรฐานล่าสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในโลกที่ใช้ระบบ DVB-T โดยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้สามารถออกอากาศได้ในพื้นที่ที่กว้างขึ้นและยังรองรับช่องความคมชัดสูง HD ได้มากขึ้น

ระบบการออกอากาศแบบอนาลอกจะมีการปิดระบบอย่างสิ้นเชิงหลังจากระบบทีวีดิจิตอลได้มีการออกอากาศสมบูรณ์แล้ว ซึ่งผลพวงนี้จะทำให้สามารถนำความถี่ที่เหลือมาใช้สำหรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงในย่าน 700 MHz ได้อีกด้วย

กลับมาที่เรื่องของการคัดเลือกผู้ชนะกันนะครับ ในตอนนั้นมีผู้มาซื้อซองประมูลเป็นจำนวน 66 บริษัทด้วยกัน ซึ่งมีทั้งผู้ขายอุปกรณ์ ผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเทเลคอมและอื่นๆอยู่ด้วย และเนื่องจากเอกสารประมูลระบุว่า ผู้ชนะจะต้องลงทุนเองทั้งหมด เมื่อถึงวันปิดรับซองคือ 24 กรกฏาคม 2012 (2555) มีผู้มายื่นซองจำนวนทั้งหมด 8 รายด้วยกัน ในลักษณะของแผนธุรกิจสำหรับการพิจารณารอบแรก

ด้าน MCMC ก็ได้พิจารณาแผนธุรกิจจากทั้ง 8 บริษัทและตัดออกจนเหลือ 3 รายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012 เพื่อเข้าสู่การพิจารณารอบสุดท้าย โดยบริษัททั้งสามรายประกอบด้วย i-Media Broadcasting Solutions, Puncak Semagat และ Redtone Network

ตามข้อกำหนดในเอกสารการประมูล ทั้งสามบริษัทจะต้องเตรียมแผนธุรกิจอย่างละเอียด (Detailed Business Plans – DBP) ระหว่าง มกราคม ถึง มิถุนายน 2013 และยื่นกับ MCMC ในวันที่ 3 มิถุนายน 2013 หลังจากมีการยื่น DBP กลับมาแล้วทาง MCMC ก็ได้มีการประเมินข้อเสนอของทั้งสามรายเพื่อที่จะมีการเลือกผู้ชนะเพียงรายเดียวมาทำการสร้างระบบโครงข่ายของประเทศ (Common Integrated Infrastructure Provider – CIIP) การประเมินกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาที่มีภูมิหลังด้าน MCMC ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง ตุลาคม 2013 นอกจากนี้แล้วทาง MCMC จังได้ทำการประเมินการตลาดและการทำเบนช์มาร์คเป็นการภายในเพื่อจะวิเคราะห์ข้อเสนอได้แม่นยำขึ้นจากทั้งสามราย

การประเมินนั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อกำหนดที่เขียนไว้ในเอกสารการประมูล และเอกสารที่ออกมาเพิ่มเติมภายหลัง โดยรวมถึงการใช้งานความถี่ย่าน 470 – 694 MHz ก่อนและหลังการปิดระบบออกอากาศแบบอนาลอก แผนการออกอากาศ กลยุทธ์ด้านกล่อง set top box และกระบวนการในการปิดระบบอนาลอก อัตราบิทเรทเพื่อควบคุมคุณภาพสัญญาณ ระยะเวลาในการดำเนินการ โครงการให้ความรู้กับประชาชน เงื่อนไขที่จะมีกับผู้ออกอากาศ ค่าเช่าโครงข่าย แผนด้านการเงินในระยะเวลา 15 ปี และความสามารถในการหาแหล่งเงินทุน

ในกระบวนการประเมินนั้นพบว่า Puncak Semagat มีข้อเสนอที่ดีกว่าเจ้าอื่นๆในแง่ของกลยุทธ์ทั้งหมดซึ่งมีพร้อมทั้งแผนละเอียดเพื่อดำเนินการโดยรวมและเผยถึงแผนธุรกิจที่น่าจะเป็นไปได้มากสุด

ทั้งนี้ Puncak Semagat จะต้องพัฒนาระบบเครือข่ายกระจายสัญญาณซึ่งต้องมีทั้งเสาส่งกำลังสูงและปานกลาง ระบบเครือข่าย ศูนย์กลางด้านมัลติมีเดีย โดยเริ่มต้นจะต้องสามารถรองรับการออกอากาศทีวีดิจิตอลแบบความคมชัดปกติ 45 ช่องหรือความคมชัดสูง 15 ช่อง โดยช่วงเริ่มต้นของการออกอากาศจะต้องส่งสัญญาณช่องทีวีที่มีอยู่เดิมทั้งของรัฐและเอกชนเช่น TV1, TV2, TV3, ntv7, 8TV, TV9, TV Alhijrah และ Bernama TV โดยจำนวนช่องจริงๆในช่วงท้ายจะมีการพิจารณากันอีกทีระหว่าง CIIP และผู้ออกอากาศ ทั้งนี้ช่วงวิทยุในปัจจุบันก็จะมีการออกอากาศได้ด้วย

มาเลเซียเองก็เป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ใช้หลักการนี้ ซึ่งเป็นการลดภาระการลงทุน โดยให้มีผู้ลงทุนเพียงรายเดียวในการให้บริการระบบโครงข่าย ไม่ต้องมีการลงทุนซ้ำซ้อนกัน และยังเป็นการใช้งานความถี่ที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งมีความถี่ที่เหลือจากระบบเดิมมาใช้งานในย่านการสื่อสารไร้สายอีกด้วย

ปัจจุบันการออกอากาศในระบบภาคพื้นดินในมาเลเซียนั้นครอบคลุมประชากร 98% และมีผู้ชมผ่านระบบนี้ 47% ของครัวเรือน ที่เหลือจะดูทีวีผ่านระบบดาวเทียมและอินเตอร์เน็ต ซึ่งแผนการบริการทีวีดิจิตอลในมาเลเซียนั้นคาดว่าจะเริ่มมีการออกอากาศในไตรมาสที่สามของปี 2014 นี้ โดยจะเริ่มมีการทดสอบในบางพื้นที่ก่อน และจะให้ครอบคลุมประชากร 98% ต่อไป

ที่มา mole.my

Advertisment

Leave a comment